วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มรดกโลก

                            มรดกโลก


ตราสัญลักษณ์
            
              มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
            ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
                                              ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป


ทวีปมรดกโลกทางธรรมชาติมรดกโลกทางวัฒนธรรมมรดกโลกผสมมรดกโลกทั้งหมด
แอฟริกา3242478
อาหรับ461166
เอเชีย-แปซิฟิก511389198
ยุโรป และ อเมริกาเหนือ5837710444
ละตินอเมริกา และ แคริบเบียน35863124
รวม18070427911
      

  ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
       ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์  (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

 ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

           กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้

 หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

 หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

มรดกโลก มรดกไทย

1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
  • เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
-เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
-เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
-เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคง  สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

5 .ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
-เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
         สาเหตุเกิดจากการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกที่มีปัญหากับประเทศกัมพูชามาโดยตลอด   ในวันที่ 25 มิ.ย.   ประเทศไทยแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาจะเสนอกับที่ประชุมและในช่วงที่มีการประสานกับผอ.ยูเนสโกและผู้แทนพิเศษฯนั้น มีการยืนยันกับไทยมาตลอดว่าจะไม่พิจารณาแผนดังกล่าว จนกระทั่งในช่วงของการประชุมหลายวันที่ผ่านมา ร่างข้อมติชัดเจนว่าที่ประชุมตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาแผนดังกล่าว แต่ปรากฏว่าก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมมีการนำเสนออ้างข้อมติเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง  ซึ่งกัมพูชาเสนอขึ้นแม้จะไม่ได้พูดแผนบริหารจัดการพื้นที่ชัดเจน แต่มีความกำกวม   และเราได้ปรึกษาเเล้วและเห็นว่ายอมรับไม่ได้ ที่ประชุมต้องการนำร่างมติสองฝ่ายไปพิจารณาในที่ประชุม   ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพราะพูดกันมาตลอดว่าต้องไม่ตัดสินใจในเรื่องนี้  ต้องมีความชัดเจนว่าต้องเลื่อนออกไปและระบุไว้ในข้อบังคับการประชุม
                                    <><><<> พรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง <><><>
1. พรรคเพื่อไทย -ได้ส.ส.แบบแบ่ง เขต = 204 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 61 คน

2. พรรคปชป. -ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 115 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 44 คน

3.พรรคชทพ. -ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 15 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 4 คน

4.พรรคชพน. -ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 5 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 2 คน

5.พรรค พช. -ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 6 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 1 คน

6.พรรค รปท. - ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 0 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 4 คน

7. พรรคมาตุภูมิ -ได้ส.ส.แบบแบ่ง เขต = 1 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 1 คน

8. พรรคมหาชน - ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 0 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 1 คน

9. พรรคประชาธิปไตยใหม่ -ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 0 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 1 คน

10. พรรครักษ์สันติ - ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต = 0 คน แบบบัญชีรายชื่อ = 1 คน

รวมจำนวนส.ส. ทั้งหมด 500 คน


      สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดย ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคนไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล

โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล และพรรคมหาชน
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง

   พรรคการเมืองฝ่ายค้าน
-พรรคประชาธิปัติย์ ได้ส.ส. จำนวน 160
-พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส. 4 ที่นั่ง
-พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส. 34 ที่นั่ง